วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556


                       ส่วนประกอบของพืช

                                           


 ราก  เป็นส่วนของพืชที่งอกออกจากเมล็ดก่อนส่วนอื่น และเจริญลงสู่ใต้ดิน รากมีหน้าที่ยึดลำต้นให้ตั้งบนดิน ดูดน้ำและแร่ธาตุที่สะสมอยู่ในดินแล้วลำเลียงขึ้นไปยังส่วนต่างๆของพืช นอกจากนี้รากของพืชบางชนิดทำหน้าที่สะสมอาหาร   รากของพืชแบ่งเป็น  2 พวก คือ รากแก้ว  กับรากฝอย
               รากแก้ว  เป็นรากที่งอกออกจากเมล็ดก่อนส่วนอื่น ในพืชบางชนิดรากแก้วจะเจริญต่อไป มีขนาดใหญ่และยาวกว่ารากอื่นๆ และมีรากแขนงแตกออกมาจากรากแก้ว
               รากฝอย   เป็นรากเส้นเล็กๆมากมายขนาดโตสม่ำเสมอกัน  ไม่เรียวลงที่ปลายอย่างรากแก้ว  งอกออกจากรอบๆ โคนต้นแทนรากแก้วที่หยุดเติบโต

 

 ลำต้น   เป็นส่วนของพืชที่อยู่ต่อจากรากขึ้นมา พืชส่วนมากจะมีลำต้นอยู่บนดิน แต่พืชบางชนิดมีลำต้นอยู่ใต้ดิน  ลำต้นประกอบด้วยข้อ  ปล้อง และตา  ลำต้มีหน้าที่ชูก้าน ใบ  และดอกให้ได้รับแสงแดด  เป็นทางลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ  และลำต้นบางชนิดสะสมน้ำและอาหาร

 ใบ   เป็นส่วนของพืชที่เจริญเติบโตยื่นออกมาทางข้างของลำต้น  มีลักษณะแบน  มีสีเขียว  ใบจะมีเส้นใบซึ่งมี  2  ลักษณะ  คือ
             1.  เส้นใบขนาน
             2.  เส้นใบเป็นร่างแห
             ใบมีหน้าที่สร้างอาหาร  คายน้ำและหายใจ

 ดอก  เป็นส่วนของพืชที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์  ดอกโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนต่างๆ    ดังนี้คือ  กลีบเลี้ยง  กลีบดอก  เการตัวผู้  เกสรตัวเมีย  ก้านดอก  และฐานรองดอก

   ผล  เป็นส่วนที่เจริญมาจากรังไข่หลังจากดอกได้รับการผสมแล้ว  ผนังรังไข่ชั้นนอกสุด  เจริญเป็นเปลือกของผล  เปลือกของผลไม้บางชนิดอ่อนนุ่ม เช่น  องุ่น  บางชนิดอาจหนาและแข็งมาก เช่น  ผลมะพร้าว  ถัดจากเปลือกเข้าไปเป็นชั้นของเนื้อซึ่งอาจอ่อนนุ่มหรือแข็งแห้ง  ผลไม้ที่มีเนื้อนุ่มเรียกผลสด  ส่วนผลไม้ที่มีเนื้อแห้งเรียนผลแห้ง


ที่มา  :  http://www.skb.ac.th       วันที่  31  มกราคม  2556
ส่วนประกอบของร่างกาย



ร่างกายของเรา

  
ในร่างกายถ้าเปรียบระบบอวัยวะกับการทำงานของระบบโรงงานสามารถเปรียบได้ดังนี้ เช่นผิวหนัง, ขน, เล็บ เปรียบเหมือน กำแพง ด่านตรวจ สมอง เปรียบเหมือน คอมพิวเตอร์ ตา เปรียบเหมือน กล้อง V.D.O. วงจรปิด รปภ. ลิ้น เปรียบเหมือน ผู้ตรวจสอบคุณภาพ หัวใจ เปรียบเหมือน เครื่องปั้มน้ำ ปอด เปรียบเหมือน แอร์ ( ก๊าช ) ไต ตับ เปรียบเหมือน เครื่องกำจัดของเสีย ถังขยะ กระเพาะอาหาร,ลำไส้ เปรียบเหมือน ห้องครัว ในร่างกายจะประกอบด้วยหน่วยของสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดคือเซลล์(cell)เซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุดคือสเปิร์ม (sperm) และใหญ่ที่สุดคือไข่ (egg)

cell หลาย ๆ cell รวมกันกลายเป็น เนื้อเยื่อ (tissue) เนื้อเยื่อ (tissue) หลาย ๆ เนื้อเยื่อ (tissue) รวมกันกลายเป็น ระบบ (system) ระบบ (system) หลาย ๆ ระบบ (system) รวมกันกลายเป็น ส่วนประกอบของร่างกาย ส่วนประกอบของร่างกาย (parts 0f body) รวมกันกลายเป็น ร่างกาย (body)

เซลล์ที่เป็นองค์ประกอบของร่างกาย
 
1. เซลล์ร่างกาย (body cell) ลักษณะแบนบาง มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางพบตามร่างกาย
2. เซลล์เยื่อบุ (epidermis) ลักษณะแบนบาง มีนิวเคลียสตรงกลางนูนเหมือนไข่ดาว พบตามเยื่อบุที่มีผนังบางมีเมือก (mucus) หล่อเลี้ยง เช่น ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ดวงตา อวัยวะเพศภายใน
3. เซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell) มี 3 ชนิด
เซลล์กล้ามเนื้อลาย (reticular muscle) พบตาม แขน ขา

เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) พบตาม อวัยวะภายใน เช่น ทางเดินอาหาร

เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac cell) พบที่หัวใจ


4. เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell ; RBC)
  
5. เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell ; WBC)
 
6. เซลล์ประสาท
  
7. เซลล์กระดูก
  
8. เซลล์สมอง
    
9. เซลล์สืบพันธุ์
  
ระบบต่างๆในร่างกายทำงานประสานงานกันอย่างมีระบบ ถ้าระบบใดระบบหนึ่งผิดปรกติ ร่างกายก็จะแสดงความผิดปรกติออกมา เช่น พิการ เป็นโรค ฯลฯ ระบบต่างๆในร่างกายที่จะได้ศึกษา ได้แก่

1.ระบบย่อยอาหาร
2. ระบบสืบพันธุ์
3. ระบบหัวใจการหมุนเวียนของเลือด
4. ระบบหายใจ
5. ระบบการขับถ่ายหรือการกำจัดของเสีย
6. ระบบประสาท
7. ระบบกล้ามเนื้อ
8. ระบบกระดูก
9. ระบบภูมิคุ้มกัน

ส่วนระบบอื่นๆที่จะได้ศึกษาต่อไป ได้แก่ ระบบฮอร์โมน ฯลฯ

ระบบย่อยอาหาร (Digestion)
ระบบย่อยอาหารทำหน้าที่ เปลี่ยนอาหารมีโมเลกุลขนาดใหญ่ ให้เป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กซึ่งร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างพลังงาน สร้างความเจริญขั้นตอนต่างๆ ที่จะเปลี่ยนจากอาหารให้เป็นสารอาหารก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดบริเวณผนังของลำไส้เล็ก การย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะที่เกี่ยวข้อง น้ำย่อย และ ตัวเร่งปฏิกิริยา

    
อวัยวะที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย อวัยวะที่เกี่ยวข้องโดยตรง และโดยอ้อม
อวัยวะที่เกี่ยวข้องโดยตรง ประกอบด้วย
ปากและฟัน (mouth and teeth) ประกอบด้วย
  1. ริมฝีปาก พบชนิดสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วยเซลล์เยื่อบุ ติดต่อกับผนังเยื่อบุข้างแก้ม
  2. ช่องแก้ม ประกอบด้วยเซลล์ เยื่อบุเป็นบริเวณที่ผลิตน้ำเมือกและเป็นทางเปิดออกของต่อมน้ำลาย
  3. ช่องปาก ประกอบด้วยเพดานปาก ลิ้นไก่ บริเวณใต้ลิ้น
  4. ต่อมน้ำลาย (salivary gland) อยู่รอบ ๆ ปาก มี 3 คู่
ต่อมน้ำลาย ใต้กกหู (parotid gland) เป็นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ทางด้านล่างของหูทั้ง 2 ข้าง ประกอบด้วยเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำลายชนิดใส (serous)ถ้าต่อมนี้ติดเชื้อไวรัสจะทำให้อักเสบ บวม เรียกว่าโรคคางทูม ในเพศชายเชื้ออาจรุกลามไปถึงลูกอัณฑะทำให้เป็นหมันในที่สุด
    
ต่อมน้ำลาย ใต้ขากรรไกร (submandibular gland) มีลักษณะคล้ายรูปไข่ เปิดสู่เพดานล่างของปากทางด้นข้างของฟันตัดด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำลายชนิดใส และชนิดข้นเล็กน้อย


ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (sublingual gland) อยู่ตรงกลางระหว่างขากรรไกรล่างบริเวณใต้ลิ้นประกอบด้วยเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำลายชนิดข้น (mucous)
   
ส่วนประกอบและคุณสมบัติของน้ำลาย
1. มีค่า pH ระหว่าง 6.2-7.4 ประสิทธิภาพของน้ำลายสูงสุดที่ pH = 6.8 (กรดอ่อน ๆ)
2. มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 97-99 %
3. เป็นสารที่มีสภาพหนืด ประกอบด้วย ฟอสฟอรัส และแคลเซียมในปริมาณสูง
4. ประกอบด้วยน้ำย่อย (enzyme) ที่ทำหน้าที่ย่อยแป้ง คือ เอนไซม์ไทยาลินหรือเอนไซม์อะไมเลส(ptyalin or amylase)
5. มีสารเมือก (mucus) ช่อยในการหล่อลื่น

หน้าที่ของน้ำลาย
1. ช่วยกลืนอาหารได้ง่ายขึ้น
2. ควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย
3. ทำหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท
4. ทำหน้าที่ทำลายอาหาร ให้ต่อมรับรส (tast bud) รับรสอาหารได้ช่วยทำความสะอาดปากและฟัน
5. ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวของลิ้นขณะพูด
6. ขับสารบางชนิดออกมา (excretory) ได้แก่ ยูเรีย น้ำตาล ละสารพิษต่าง ๆ เช่น ปรอท (Hg) ตะกั่ว (Pb)

ลิ้น (tongue) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ ผนังของลิ้นเป็นตุ่มนูนขึ้นมาซึ่งประกอบด้วยเซลล์ประสาทมากมาย ลิ้นช่วยในการคลุกเคล้าอาหารและให้น้ำลายคลุกเคล้าอาหารได้ทั่วถึง และช่วยในการกลืน นอกจากนี้ยังช่วยในการให้เกิดเสียงและช่วยรับรสอีกด้วย
 

ตำแหน่งของลิ้นที่ช่วยในการรับรส ปลายลิ้น รับรส หวาน ขอบลิ้นส่วนหน้า รับรส เค็ม ขอบลิ้นส่วนล่าง รับรส เปรี้ยว โคนลิ้น รับรส ขม

ฟัน ประกอบด้วย
   
  1. ตัวฟัน เป็นส่วนที่โผล่ออกจากขากรรไกร เมื่อนำมาผ่าตามแนวยาวจะเห็น ส่วนประกอบดังนี้

    -- ชั้นเคลือบฟัน(enamel) ประกอบด้วย แคลเซียมฟลูออไรด์ (CaF2 ) มีสีขาวเนื้อแน่นเป็นส่วนที่แข็งที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อฟันไว้สำหรับบดเคี้ยวอาหาร

    -- ชั้นเนื้อฟัน (dentine) อยู่ในชั้นใต้ชั้นเคลือบฟัน ในส่วนนี้ประกอบด้วย cell ที่มีชีวิตทำหน้าที่สร้างเนื้อฟันได้

    -- ชั้นโพรงประสาทฟัน (neck) เนื้อคอฟัน ส่วนนี้ประกอบด้วย cell ประสาท และหลอดเลือดโยผ่านมาทางคลองรากฟัน
     
  2. รากฟัน (root) เป็นส่วนที่ติดกับขากรรไกร หุ้มด้วยเหงือก
สาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุ เนื่องจากมีจุลินทรีย์ในช่องปากย่อยสลายเศษอาหาร เช่น น้ำตาล เมื่อถูกย่อยจะได้กรด แล้วจะไปทำลายฟัน ดังนี้
1. กัดสารเคลือบฟัน ทำให้เกิดร่อง
2. กรดจะเจาะเข้าไปถึงชั้นเนื้อฟันและโพรงประสาทฟัน ทำให้ปวด
3. เมื่อลามถึงรากฟัน ฟันจะหลุดออก

* จุลินทรีย์ใช้น้ำตาลสร้างเมือกเหนียวให้ติดกับตัวฟันเรียกว่า พลัค (plaque)

ชนิดของฟัน
1. ฟันน้ำนม (Temporary teeth) มีทั้งหมด 20 ซี่ บน 10 ล่าง 10 ฟันน้ำนมจะงอกตั้งแต่ 6 เดือน - 12 ปี ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดตั้งแต่อายุประมาณ 2 ปีครึ่ง ถึง 12 ปี
  
2. ฟันแท้ (Permanent teeth) มีทั้งหมด 28-32 ซี่ แล้วแต่ฟันกรามหลังจะงอกครบหรือไม่ อยู่ขากรรไกรบน 16 ซี่ และ ขากรรไกร 16 ซี่
    
รูปร่างและหน้าที่ของฟัน
1. ฟันตัด (Incisor; I) อยู่ส่วนหน้ามีรูปร่างบางคล้ายลิ่มมีจำนวนทั้งหมด 8 ซี่
  
2. ฟันเขี้ยว (Canine;C) ทำหน้าที่ฉีกกัดอาหาร และรักษามุมปาก มีจำนวน 4 ซี่
  
3. ฟันเคี้ยวหรือกรามหน้า (Prermolar;P) มีจำนวนทั้งหมด 8 ซี่ ทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร
  
4. ฟันกรามหลัง (Molar;M) ฟันบด มีความแข็งแรงใช้บดอาหาร มีจำนวน 12 ซี่
   
*ข้อ 1 และ 2 เรียกว่า ฟันหน้า ข้อ 3 และ 4 เรียกว่า ฟันหลัง
ข้อแตกต่างระหว่างฟันแท้กับฟันน้ำนม
1. ขนาด ฟันแท้มีรูปร่างขนาดใหญ่กว่า
2. สี ฟันน้ำนมขาว ฟันแท้สีนวลขึ้น
3. ส่วนของคอฟัน ฟันน้ำนมคอคอดมากสั้น ฟันแท้คอดน้อยยาว
4. รากฟัน ฟันน้ำนมห่าง ฟันแท้จะถี่

ฟันแท้ คือ I 4/4 C 2/2 P 4/4 M 6/6

คอหอย (pharynx)
เป็นท่ออยู่ระหว่างด้านหลังของช่องปากและหลอดลม บริเวณนนี้เป็นจุดเชื่อมระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหารโดยมีกลไกควบคุมการส่งอาหารหรืออากาศคนละเวลากัน นอกจากนี้ยังประกอบด้วยต่อน้ำเหลือง 3 คู่อยู่รอบ ๆ คอหอย มีหน้าที่ดักจับเชื้อโรค เรียกว่า “ต่อมทอนซิล” (tonsil)
   

หลอดอาหาร (oesophagus)
อยู่ต่อจากคอหอยอยู่ด้านหลังหลอดลม (trachea) ส่วนบนเป็นกล้ามเนื้อลายมีหูรูด ช่วยปิดเปิดหลอดอาหารระหว่างกลืนอาหารส่วนท้ายเป็นกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยบีบส่งอาหารเป็นระยะ เรียกว่า เพอรีสตัลซีส (peristalsis) ช่วยให้อาหารเคลื่อนที่ได้สะดวก
    

กระเพาะอาหาร (stomach)
อยู่บริเวณด้านซ้ายของช่องท้องกว้างประมาณ 5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
     

-- คาร์ดิแอค (Cardiac) เป็นส่วนที่ต่อจากหลอดอาหาร
-- ส่วนฟันดัส (Fundus) เป็นส่วนมีขนาดใหญ่เรียกว่า “บอดี้” (body)
-- ไพโลรัส (Pylorus) เป็นส่วนท้ายของกระเพาะที่ต่อกับลำไส้เล็กตรง ทำหน้าที่ส่งอาหารสู่ลำไส้เล็กเป็นระยะ ๆ

ลำไส้เล็ก (Small Intestine)
ยาวประมาณ 10 m แบ่งออกเป็น 3 ตอนได้แก่
  
-- ดูโอดีนัม (Duodenum) ต่อจากกระเพาะอาหารยาวประมาณ 1 ฟุต ส่วนบนมีท่อเปิดจากตับอ่อนมีท่อส่งน้ำดีกับน้ำย่อยต่าง ๆ บริเวณส่วนนี้จะมีลักษณะเป็น รูปตัว U
-- เจจูนัม (Jejunum) ยาวประมาณ 8-9 ฟุต ย่อยและดูดซึมอาหารและสารอาหารมากที่สุด
-- อิเลียม (Ileum) ส่วนสุดท้ายต่อกับลำไส้ใหญ่เป็นมุมฉากบริเวณไส้ติ่งยาวประมาณ 2-3 ฟุต ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหารมาสู่ร่างกายค่อนข้างน้อย

หมายเหตุ กระเพาะอาหารมีปริมาณ 50 cc แต่เมื่อได้รับอาหารจะยาวถึง 2000 cc หรือ 2 ลิตร ทำหน้าที่พักอาหารบริเวณเยื่อบุภายในจะมีต่อมผลิตน้ำย่อย (Grastric gland) ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยและกรดเกลือ (HCl) ซึ่งทำให้อาหารโปรตีนมีอนุภาคเล็กลง

ที่ผนังด้านในของลำไส้เล็กประกอบด้วยตุ่มเล็ก ๆ มากมาย ประมาณ 20-40 อัน/mm2 (ตารางมิลลิเมตร) ตุ่มเหล่านี้เรียกว่า “วิลลัส” (Villus) ด้านในประกอบด้วยเส้นเลือดและเส้นน้ำเหลือง เลือดทำหน้าที่ในการดูดซึมอาหารและทำลายเชื้อโรค ตามลำดับ

ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine)
ยาวประมาณ 1.5 เมตร เริ่มตั้งแต่ส่วนของอิเลียมจนถึงทวารหนัก แบ่งเป็น 4 ส่วน
   

-- ซีกัม (Cecum) ต่อจากอิเลียมยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ตรงรอยต่อมีหูรูด บริเวณนี้มีไส้เล็ก ๆ เรียกว่า “ไส้ติ่ง” (Appendix) ส่วน
-- โคลอน (Colon) แบ่งเป็น 3 ตอน ตั้งฉากกันเป็นส่วนที่ยาวที่สุด
-- ส่วนของเร็กตัม (Rectum) หรือเรียกว่าไส้ตรง สิ้นสุดที่ทวารหนักยาวประมาณ 12-15 ซม. อยู่ด้านหลังกระเพาะปัสสาวะหรือมดลูก บริเวณนี้มีแนวโน้มให้เกิดโรคมะเร็งมากที่สุด
-- ช่องทวารหนัก (Anal Canal) ยาวประมาณ 2.5 - 3.5 ซม. ปลายสุดเปิดออกนอกร่างกายเรียกว่า “ทวารหนัก (Anus)” ประกอบด้วยหูรูด(sphincter) 2 แห่ง คือ ด้านนอกและด้านใน หูรูดด้านในอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของจิตใจ หูรูดส่วนนอกอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ

หน้าที่ของลำไส้ใหญ่
1. สะสมกากอาหาร
2. ดูดซึมแร่ธาตุ น้ำ กลูโคส
3. มีจุลินทรีย์ช่วยในการย่อยกากอาหารโดยเฉพาะเซลลูโลส ให้มีสภาพเหลวหรืออ่อนนุ่ม

อวัยวะที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม
ตับ (Liver)
เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายมี 2 ซีก ซ้าย-ขวา มีสีน้ำตาลเนื้อแน่น หนักประมาณ 3.3 - 3.5 ปอนด์ ภายในประกอบด้วยก้อนเล็ก ๆ มากมายเรียกว่า “โลบุล (Lobul)” ระหว่างโลบุลมีช่องว่างเล็ก ๆ เป็นทางผ่านของเลือด เรียกว่า “ไซนูซอยด์ (Sinusiod)” นอกจากนี้ยังมีถุงน้ำดีอยู่ด้วย
  

หน้าที่ของตับ
1. สร้างน้ำดีจากเม็ดเลือกแดงที่หมดอายุคือ ประมาณ 120 วัน
2. สร้างเลือดในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ (Fetus)
3. ทำลายเม็ดเลือดแดง
4. เปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจน หรือสลายไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสเมื่อร่างกายขาดแคลน
5. ทำลายพิษที่ร่างกายรับเข้ามาหรือสร้างขึ้น เช่น แอลกอฮอล์ โลหะหนัก อะฟลาทอกซิล
6. สร้างน้ำเหลืองประกอบด้วยเม็ดเลือดขาว ภูมิคุ้มกัน

ตับอ่อน (Pancreas)
มีลักษณะคล้ายใบไม้ยาวประมาณ 20-25 ซม. สีแดงหรือสีเทา มีต่อเปิดสู่ส่วนโค้งของดูโอดีนัม ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อ ผลิตของเหลวได้ประมาณ 2 ลิตร ซึ่งประกอบด้วย
-- น้ำย่อย ซึ่งทำหน้าที่ย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน
-- โซเดียมไบคาร์บอเนต มีคุณสมบัติเป็นเบส (ด่าง) เพื่อปรับสภาพอาหารที่มาจากกระเพาะอาหารซึ่งมีสภาพเป็นกรด ให้มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นเบสอ่อน ๆ เพื่อจะไม่ทำลายเยื่อบุของลำไส้เล็ก (Villi)

น้ำย่อย (enzyme)
ประกอบด้วย ไทยาลิน ในน้ำลาย เปปซินในกระเพาะอาหาร น้ำย่อยอื่น ๆ ที่ ดูโอดินัม และตับอ่อน

ตัวเร่งปฏิกิริยา (catalize) ประกอบด้วย น้ำ น้ำดีจากตับ กรดเกลือจากกระเพาะ Ca

กระบวนการย่อยอาหาร
การย่อยที่ปาก ได้แก่
  • การเคี้ยว (Mastication) เป็นการย่อยแนบเชิงกล (Machanical Digestion) หมายถึงการเปลี่ยนจากอาาหารที่มีโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็ก
  • การกลืน (Deglulutition) เพื่อให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อยส่งลงหลอดอาหารโดยการควบคุมของคอหอย จะมีแผ่นกระดูกอ่อนเรียกว่า “ฝาปิดกล่องเสียง” เมื่ออาหารถึงหลอดอาหารจะถูกบีบผ่านอยางเร็วเรียกว่า “Peristalsis”
ในปากมีการย่อยอาหาร 2 แบบ คือ
  1. เชิงกล (Mechanical Digestion) การทำให้อาหารที่มีขนาดใหญ่ให้เล็กลงอย่างรวดเร็ว
  2. เชิงเคมี (Chemical Digestion) การทำให้อาหารเล็กลงช้า ๆ โดยมีน้ำย่อยและน้ำเป็นตัวย่อย
การย่อยเชิงเคมีในปาก น้ำลายจะประกอบด้วยน้ำย่อย Ptyalin หรือ Amylase ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้มีโมเลกุลเล็กลงเรียกว่า “เดกซ์ตริน (Dextrin) จากนั้น Dextrin ก็จะย่อยเป็นน้ำตาลมอลโตส กลูโคส ตามลำดับ ดังนี้

Ptyalin
Starch Dextrin 95-99 %
H2O
Ptyalin
Dextrin Maltose 5 %
H2O
Maltase
Maltose Glucose 1 %
H2O

กระบวนการย่อยจะเกิดขึ้นบริเวณรอยต่อของโมเลกุลหรือเรียกว่า “พันธะ” (bond)

การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร บริเวณใต้เยื่อบุกระเพาะอาหารมีต่อมที่ผลิตของเหลว (Gastric gland) ประกอบด้วย
- กรดเกลือ (HCl ; ไฮโดรคลอริก) ทำหน้าที่ให้โปรตีนสลายตัวเป็นโปรตีนสายสั้นๆ เรียกว่าโพลีเปปไตด์ (Polypeptide)
- เปปซิน (Pepsin) เป็นน้ำย่อยที่ย่อยโปรตีนให้เป็นโปรตีนสายสั้นๆ โดยมีกรดเกลือมาช่วย

Pepsin
Protein Polypeptide
HCl , H2O

- เรนนิน (Rennin) เป็นน้ำย่อยโปรตีนพบในเด็กหรือสัคว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอายุน้อยโดยทำงานร่วมกับโปรตีนย่อยโปรตีนที่อยู่ในนมเรียกว่า “เคซีน (Casein)” จากนั้นก็จะมีแคลเซียมช่วยให้เคซีนเล็กลงไปเรียกว่า “พาราเคซีน (Paracasein)” ดังรูป

Rennin
Milk Casein
HCl, H2O
Rennin
Casein Paracasein HCl, H2O, Ca
Pepsin
Paracasein Amino acid
HCl, H2O

- สารเมือก (Mucus, Secretion) ทำหน้าที่หล่อลื่นอาหารหรือเคลือบผิวกระเพาะอาหารเพื่อป้องกันกรดไม่ให้กระเพาะอาหารถูกทำลาย

สาเหตุที่ผิวกระเพาะอาหารไม่ถูกทำลาย
  • เนื่องจากผิวกระเพาะเป็นเซลล์มีชีวิต จึงไม่สามารถยับยั้งการทำลายหรือ ถ้าถูกทำลายก็จะสามารถสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเพราะเป็นเซลล์มีชีวิต
  • ผิวกระเพาะมีสารเมือกซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของกรดเกลือ
วิธีที่จะไม่ทำให้กระเพาะอาหารถูกทำลาย
- กินอาหารให้ตรงเวลา
- ไม่รับประทานอาหารสลัด เช่น เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด
- ไม่กินยาแก้ปวดขณะท้องว่าง
- ไม่ดื่มอาหารที่มีแอลกอฮอล์
- ลดความเครียด (Stress)
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่รับประทานอาหารที่หยาบหรือแข็ง

ที่มา:   http://www.baanjomyut.com